เมนู

2. ทุปปเมยยบุคคล บุคคลผู้ประมาณได้ยาก เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นผู้ไม่มีมานะฟูขึ้นดุจไม้
อ้อ ไม่เป็นผู้กลับกลอก ไม้เป็นผู้ปากกล้า ไม่เป็นผู้มีวาจาเกลื่อนกล่น มีสติ
ตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตเป็นสมาธิ มีอินทรีย์อันสำรวมแล้ว
นี้เรียกว่า บุคคลผู้ประมาณได้ยาก.
3. อัปปเมยยบุคคล บุคคลผู้ประมาณไม่ได้ เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึง
แล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม นี้เรียกว่า บุคคลผู้
ประมาณไม่ได้.


อรรถกถาบุคคลผู้ประมาณได้ง่าย เป็นต้น


ผู้ใด อันเขาพึงประมาณได้โดยง่าย เพราะเหตุนั้นผู้นั้นจึงชื่อว่า
สุปฺปเมยฺโย แปลว่า ผู้ประมาณได้โดยง่าย.
บทว่า "อิธ" ได้แก่ ในสัตว์โลกนี้.
บทว่า "อุทฺธโต" ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน
บทว่า "อุนฺนโฬ" ได้แก่ ผู้มีมานะเพียงดังไม้อ้ออันบุคคลยกขึ้น
แล้ว อธิบายว่า ผู้ยกมานะอันเปล่าแล้วดำรงอยู่.
บทว่า "จปโล" ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความหวั่นไหว มีการประดับ
บาตรเป็นต้น.

บทว่า "มุขโร" ได้แก่ ผู้มีปากกล้า.
บทว่า "วิกิณฺณวาโจ" ได้แก่ ผู้มีวาจาอันบุคคลอื่นสังเกตไม่ได้.
บทว่า "อุสมาหิโต" ได้แก่ ผู้เว้นจากความเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น.
บทว่า "วิพฺภนฺตจิตฺโต" ได้แก่ ผู้มีจิตอันหมุนไป คือว่า ผู้มีส่วน
เปรียบด้วยแม่โคที่หมุนไป และแม่เนื้อที่หมุนไป.
บทว่า "ปากฏินฺทฺริโย" ได้แก่ ผู้มีอินทรีย์อันเปิดเผย.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้
ท่านเรียกว่า สุปฺปเมยฺโย เหมือนอย่างว่า ใคร ๆ ย่อมถือประมาณแห่งน้ำ
มีจำนวนเล็กน้อยได้ ฉันใด ใคร ๆ ก็ย่อมถือประมาณบุคคลผู้ประกอบด้วยองค์
ที่มิใช่คุณได้โดยง่ายฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นบุคคลนี้ท่านจึงเรียกว่า
สุปฺปเมยฺโย ผู้ประมาณได้โดยง่าย.
บุคคลใด อันเขาพึงประมาณได้โดยยากเหตุนั้นบุคคลนั้นจึงเรียกว่า
ทุปฺปเมยฺโย แปลว่า ผู้ประมาณได้โดยยาก. การงานที่มีจิตฟุ้งซ่านเป็นต้น
บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งนัยอันตรงกันข้ามจากคำที่กล่าวแล้ว.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้
ท่านเรียกว่า ทุปฺปเมยฺโย. เหมือนอย่างว่า ใคร ๆ ย่อมประมาณน้ำในมหา-
สมุทรได้โดยยาก ฉันใด ใคร ๆ ก็ย่อมถือประมาณแห่งบุคคลผู้ประกอบด้วย
องค์แห่งคุณเหล่านี้ได้โดยยาก ฉันนั้นเหมือนกัน คือ ย่อมถึงซึ่งภาวะอันใคร ๆ
พึงกล่าวว่า "ผู้นี้เป็นพระอนาคามี หรือว่าเป็นพระขีณาสพหนอ" เพราะฉะนั้น
บุคคลนี้ท่านจึงเรียกว่า ทุปฺปเมยฺโย ผู้ประมาณได้ยาก.
ข้อว่า "น สกฺกา ปเมตุํ" ความว่า บุคคลใดอันใคร ๆ ไม่อาจ
เพื่อประมาณได้ เหมือนอย่างว่าใคร ๆ ไม่อาจเพื่อประมาณอากาศได้ ฉันใด

ใคร ๆ ก็ไม่อาจเพื่อถือประมาณแห่งพระขีณาสพได้ ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น
บุคคลนี้ท่านเรียกว่า อปฺปเมยฺโย ผู้อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้.
[99] 1. บุคคล ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้
เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เสื่อมจากศีล จากสมาธิ จากปัญญา
บุคคลเห็นปานนี้ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ ควรเว้นจากความ
เอ็นดู เว้นจากความอนุเคราะห์
2. บุคคล ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เสมอกันด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา
บุคคล เห็นปานนี้ ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
เพราะว่า ศีลกถาแห่งสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันด้วยศีล จักมี
แก่เราทั้งหลาย ทั้งกถานั้น จักเป็นความผาสุกแก่เราทั้งหลาย (คือจักไม่เดือด
ร้อน) สมาธิกถาแห่งสัตบุรุษทั้งหลายผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันด้วยสมาธิ จักมี
แก่เราทั้งหลาย ทั้งกถานั้นจักเป็นความผาสุกแก่เราทั้งหลาย และกถานั้นจัก
เป็นไปแก่เราทั้งหลาย (คือจักไม่เดือดร้อน) ปัญญากถาของสัตบุรุษทั้งหลาย
ผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันด้วยปัญญา จักมีแก่เราทั้งหลาย ทั้งกถานั้นจักเป็น
ความผาสุกแก่เราทั้งหลาย และกถานั้นจักเป็นไปแก่เราทั้งหลาย (คือจักไม่
เดือดร้อน) เพราะฉะนั้นบุคคลเห็นปานนี้ ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้.

3. บุคคล ที่ควรสักการะ เคารพ สมาคม คบหา
เข้าใกล้ เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ยิ่งด้วยศีล สมาธิ ปัญญา บุคคลเห็น
ปานนี้ควรสักการะ เคารพ สมาคม คบหา เข้าใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
เพราะว่าเราจักได้บำเพ็ญศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเรา
จักได้ถือเอาตามซึ่งศีลขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้น ๆ เราจักได้บำเพ็ญ
สมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราจักได้ถือเอาตามซึ่งสมาธิขันธ์ที่
บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้น ๆ เราจักบำเพ็ญปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริ-
บูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้น ๆ เพราะฉะนั้นบุคคลเห็นปานนี้ ควรสักการะ เคารพ
สมาคม คบหา เข้าใกล้.

อรรถกถาบุคคลผู้ไม่ควรซ่องเสพเป็นต้น


บทว่า "น เสวิตพฺโพ" ได้แก่ ผู้อันใคร ๆ ไม่ควรเข้าไปหา.
บทว่า "น ภชิตพฺโพ" ได้แก่ ผู้อันใคร ๆ ไม่พึงติดต่อ.
บทว่า "น ปยิรุปาสิตพฺโพ" ได้แก่ ผู้อันใคร ๆ ไม่ควรเข้าไป
นั่งใกล้บ่อย ๆ ด้วยสามารถเข้าไปนั่งในสำนัก. บัณฑิตพึงทราบความเป็นคน
เลวด้วยการถือเอาการเปรียบเทียบในคำเป็นต้นว่า "หีโน โหติ สีเลน".
ก็บุคคลใดรักษาศีล 5 เขาผู้นั้นอันบุคคลผู้รักษาศีล 10 ไม่พึงเสพ ส่วนบุคคล
ใดรักษาศีล 10 เขาผู้นั้นอันบุคคลผู้รักษาจตุปาริสุทธิศีลไม่พึงเสพ.
ข้อว่า "อญฺญตฺร อนุทยา อญฺญตฺร อนุกมฺปา" ความว่า เว้นจาก
ความเอ็นดูและความอนุเคราะห์ อธิบายว่า ก็บุคคลผู้เห็นปานนี้ อันใคร ๆ
ไม่ควรช่องเสพเพื่อประโยชน์ของตนเอง แต่ว่าการเข้าไปหาเขาด้วยสามารถ
แห่งความเอ็นดูและความอนุเคราะห์ก็สมควร.